ปัจจุบันหลายประเทศรวมถึงหลายบริษัทยักษ์ใหญ่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านเกษตรและอาหารมากขึ้น แนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างยั่งยืนในประเทศ จึงได้มีการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุโดยปรับปรุงระดับประสิทธิภาพการผลิตหรือเพิ่มผลผลิต (Productivity) จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ผ่านวิธีการพัฒนาซึ่งมุ่งเน้นไปที่ตัวเกษตรกร ทำให้เกษตรกรสามารถ นำความรู้ทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตรมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะการช่วยให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตและระบบบริหารจัดการ
บลูสโตนมองเห็นถึงปัญหาในพื้นที่บริเวณพื้นที่เชิงเขา เนื่องจากแหล่งน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ต่ำ หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี ชาวบ้านที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าแหล่งน้ำจะต้องใช้วิธีสูบน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตร ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า
จึงมีการสร้างนวัตกรรมในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์กับการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร โดย ใช้พลังงานสะอาด และเทคโนโลยี IoT เข้าร่วม เพื่อบริหารจัดการน้ำให้ชาวบ้าน เริ่มจากการใช้ Pump พลังงานแสงอาทิตย์ โดยสามารถควบคุมการสูบและจ่ายน้ำได้จากระยะไกล และติดตั้งท่อพร้อมวาล์วน้ำ เพื่อบริหารจัดการน้ำให้แต่ละเกษตรกร อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงสร้างของระบบนี้ประกอบไปด้วย
1.ระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์
High Efficiency Motor with Integrated Inverter คือมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่มีระบบอินเวอร์เตอร์และใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ในการสูบน้ำ
2.ระบบควบคุมการจัดการน้ำฝน IoT
ประกอบไปด้วยวาล์วซึ่งสามารถควบคุมการเปิดปิดผ่านชุด Controller โดย Controller จะมีการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย LoRa และเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อประมวลผลเข้าสู่ Cloud ผ่าน NB-IoT ซึ่งชุด Controller จะใช้พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์
การประยุกต์ใช้ Internet of Things (IoT) ร่วมกับการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรบนที่สูง
ประโยชน์ของการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
1.ช่วยในการบริหารจัดการน้ำในชุมชนเพื่อทำให้เกิดการจัดสรรน้ำจากธรรมชาติมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ส่งเสริมการนำพลังงานสะอาดมาใช้เพื่อเป็นการสร้างสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3.ส่งเสริมและแสดงให้เห็นประโยชน์การใช้อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงโดยแสดงให้เห็นความคุ้มค่าในการลงทุนและผลประหยัด
4.ส่งเสริมการนำเทคโนโลยี่ IOT มาใช้ในการจัดการน้ำเพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5.ส่งเสริมให้ทุกคนในชุมชนสามารถจัดหาและเข้าถึงทรัพยากรน้ำได้อย่างเป็นธรรมและเสมอภาคโดยการใช้ KPI ในการแบ่งสันปันส่วนน้ำ
6.แสดงให้เห็นผลการดำเนินงานด้านน้ำ และผลิตผลที่ได้จากการบริหารจัดการ โดยรายงานความคืบหน้าเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด และเพื่อเป็นข้อมุลในการปรับปรุงประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต